FoSTAT Public-Training "LEAN" กำจัดความสูญเปล่า เทคนิคที่ทุกคนต้องรู้ วันที่ 27-28 มีนาคม 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมพักพิงอิงทางบูติคโฮเทล
FoSTAT
Public-Training
"LEAN" กำจัดความสูญเปล่า เทคนิคที่ทุกคนต้องรู้
วันที่ 27-28 มีนาคม 2556 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ โรงแรมพักพิงอิงทางบูติคโฮเทล
öööööööö
หลักการและเหตุผล
คนทั่วไปมักรู้จัก LEAN ว่าเป็นแนวคิดในการกำจัดของเสีย,การสูญเสีย,ความสูญเปล่า(Waste)รวมทั้งสิ้น 7 ประการดังที่ Toyota ผู้เป็นต้นแบบใช้แนวคิดนี้ในองค์กรมานานกว่า 50 ปี เรียกว่า Surface waste มีดังนี้คือ
1.การสูญเสียจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีตำหนิ (Defect)
2.การสูญเสียจากการผลิตมากเกินความต้องการ (Over Production)
3.การสูญเสียจากการเก็บสินค้าคงคลังเกินความจำเป็น (Over Inventory)
4.การสูญเสียจากการออกแบบการผลิตที่มีขั้นตอนมากเกินไป (Over Processing)
5.ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหวที่ไม่เหมาะสม (Motion waste)
6.ความสูญเสียจากการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายต่างๆมากเกินไป (Transportation waste)
7.ความสูญเปล่าจากการรอคอย (Waiting)
แต่ในหลักสูตรนี้เราจะได้รู้จักกับการสูญเสียอีก 2 ประการที่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามคือ
8.การสูญเสียความรู้ความสามารถของคนในองค์กร (Intellectual waste) และ
9.ความสูญเสียทางอารมณ์ (Emotional waste)
นอกจากนี้แล้วการใช้ LEAN กับการทำงานในสายการผลิตก็จะช่วยทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต(Productivity),การลดต้นทุนในการผลิตช่วยเพิ่มผลกำไรและการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจเช่นการสร้างนวัตกรรมใหม่จากความคิดและการระดมสมองของทีมงานในองค์กรเอง
ในโลกปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่าลูกค้ามีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอาหารการกินที่มีผลต่อสุขภาพนั้นยิ่งต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดในการผลิตหรือการบริการโดยที่เราไม่ทราบล่วงหน้าก็อาจจะส่งผลให้บริษัทใหญ่ๆที่ขาดการดูแลเอาใจใส่การทำงานของผู้ปฏิบัติงานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาจจะล้มครืนลงได้ภายในวันเดียว เป็นเพราะการสื่อสารที่รวดเร็วเพียงปลายนิ้วก็สามารถส่งข่าวสารข้อมูลไปได้ทั่วโลก
การทำงานทุกอย่างย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับชั้นจะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆซึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำๆกันหรือเป็นปัญหาใหม่เล็กๆน้อยๆโดยที่ผู้ปฏิบัติงาน(Shop floor Operators) พบแต่ไม่ได้รายงานผู้บริหาร ทำให้มีโอกาสที่ปัญหาเล็กๆเหล่านั้นอาจจะลุกลามจนเป็นปัญหาใหญ่และเกิดความเสียหายอย่างมากและยากที่จะแก้ไข ปัญหาต่างๆเหล่านั้นอาจมีการกระจายและพบได้ในทุกๆภาคส่วนขององค์กร เราต้องยอมรับว่าไม่มีองค์กรใดที่ไม่มีปัญหาหรือถ้าจะบอกว่าไม่มีปัญหานั้นจริงๆแล้วอาจเป็นเพราะมีปัญหาแต่ไม่มีใครมองเห็นก็เป็นได้ ดังนั้นการที่เราปล่อยให้ปัญหาต่างๆเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและถูกมองข้ามนั้นเปรียบเสมือนกับคนเราที่กำลังถูกมะเร็งร้ายก่อตัวขึ้นในร่างกายโดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัว และยิ่งถ้าบุคคลผู้นั้นมีความเชื่อมั่นว่าตัวเองมีร่างกายที่แข็งแรงไม่สำรวจอาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเองเหมือนกับองค์กรที่มีผู้บริหารมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงและมั่นใจว่าการบริหารงานของตนนั้นไม่มีข้อบกพร่อง
ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะพบกับปัญหาต่างๆอย่างคาดไม่ถึงและยากต่อการแก้ไขจนอาจมีผลต่อความอยู่รอดขององค์กรได้
LEAN นั้นถือว่าเป็นเครื่องมือที่บริษัทชั้นนำในอเมริกาและทั่วโลกให้ความสำคัญและนำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างเป็นรูปธรรมและถ้าองค์กรใดรู้จักประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องแล้วก็สามารถป้องกันความเสี่ยงในการเกิดปัญหาและข้อผิดพลาดได้หรือแม้มีจะปัญหาและข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเราก็จะรู้ได้อย่างรวดเร็วและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงได้และถ้าสามารถนำ LEAN มาใช้จนเกิดเป็นวัฒนธรรมได้แล้วนั้น องค์กรนั้นก็ย่อมที่จะมีการทำงานอย่างมีความสุข มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องและมีโอกาสที่จะมีการเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ผู้ประกอบการแปรรูปอาหาร ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อาจารย์ นักวิชาการ ที่มีความรู้ในระบบมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร
กำหนดการ
วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2556 | |
8.00 – 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 10.30 น. | Introduction of LEAN |
10.30 – 10.45 น. | Break |
10.45 – 12.00 น. | KAIZEN (Continuous Improvement) |
12.00 – 13.00 น. | Lunch Break |
13.00 – 14.30 น. | LEAN Game 1 |
14.30 – 14.45 น. | Break |
14.45 – 15.45 น. | VSM (Value Stream Mapping) |
15.45 – 16.00 น. | Question & Answer |
วันพุธที่ 27 มีนาคม 2556 | |
8.00 – 9.00 น. | ลงทะเบียน |
9.00 – 10.30 น. | VSM "Current State" workshop (Group exercise) |
10.30 – 10.45 น. | Break |
10.45 – 12.00 น. | VSM "Future State" workshop (Group exercise) |
12.00 – 13.00 น. | Lunch Break |
13.00 – 14.30 น. | LEAN Game 2 |
14.30 - 14.45 น. | Break |
14.45 - 16.00 น. | Conclusion & Open Discussion (Q&A) |
สนใจสมัครเข้าฝึกอบรมรายละเอียดติดต่อ
และใบสมัครตามเอกสารแนบ..
--THANK YOU--
FoSTAT STAFF
FoSTAT-Public Training-"Hygienic design in Food Industry"การออกแบบโรงงานให้ถูกสุขลักษณะวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี
"Hygienic design in Food Industry"
การออกแบบโรงงานให้ถูกสุขลักษณะ
วันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 08.30-16.30 น.
ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี
öööööööööööööööö
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้ประกอบการด้านอาหารต้องดำเนินการผลิตอาหารภายใต้ระบบ GMP/HACCP ทั้งนี้เพื่อประกันความปลอดภัยของอาหารและเพื่อเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ได้ประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่193) พ.ศ. 2543 เรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และ การเก็บรักษาอาหาร ดังนั้น สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย จึงได้จัดโครงการ เพื่อให้คำปรึกษาการจัดทำระบบ Food Safety แก่โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร และจากโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้พบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก การขาดความรู้ ความเข้าใจ และการนำไปประยุกต์ใช้ ในเรื่องของ การออกแบบโครงสร้างอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ การเลือกใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร และมักพบกับปัญหาที่ต้องตามแก้ไขด้านสถานที่ตั้ง อาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักรที่ไม่ถูกสุขลักษณะทำให้ต้องเสียเวลาในการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผ่านการรับรองระบบมาตรฐานต่างๆ
จากเหตุผลดังกล่าว สมาคมฯ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาหลักสูตร Hygienic Design in Food Industry เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย โดยมีการปรับปรุงเนื้อหา ให้มีความครอบคลุมประเด็นสำคัญ เพื่อชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
| วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 |
|
เวลา | หัวข้อสัมมนา | วิทยากร |
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียนและรับเอกสาร | |
09.00 – 12.00 | Source of Contamination & Hygienic Plan Design - Personal Hygiene - Walls - Ceiling/Overheads - Floors - lighting - Drainage | รศ.ดร.นภาพร เชี่ยวชาญ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี |
12.00 – 13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
|
13.00 – 14.30 | เทคนิคการทำความสะอาดไบโอฟิล์ม | คุณโชคชัย พงทิพย์พิทักษ์ บริษัท ECOLAB จำกัด |
14.30 – 14.45 | พักรับประทานอาหารว่าง |
|
14.45 – 16.15 | การควบคุมคุณภาพอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร - การควบคุมการปนเปื้อนในอากาศ - การเลือกแผ่นกรองอากาศที่เหมาะสม - การซ่อมบำรุง - มาตรฐานการระบายอากาศ |
รศ.ดร.ประกอบ สุรวัฒนาวรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ |
| ||
| วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 | |
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียนและรับเอกสาร | |
09.00 – 10.15 | External site Standard & Security | คุณนิรันดร์ เหลาพนัสสัก สมาคม FoSTAT |
10.15 – 10.30 | พักรับประทานอาหารว่าง |
|
10.30 – 12.00 | การใช้ Stainless steel ในอุตสาหกรรมอาหาร | คุณพจน์ศักดิ์ หรูกิจพณิช บริษัท โพสโค-ไทยน๊อคซ์ จำกัด(มหาชน)
|
12.00 – 13.00 | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
|
13.00 – 16.00 | Hygienic Equipment Design - วัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร - ถังกวน ถังผสม - Connection - Instrumentation - Pump - Valves - Cleaning In Place (CIP) |
คุณวรปัญญา สุธานุภาพวุฒิ บริษัท พัฒน์กล จำกัด |
16.00 – 16.20 | ซักถามข้อสงสัย / ปิดการอบรม / รับใบประกาศ | |
สนใจสมัครเข้าฝึกอบรมรายละเอียดติดต่อ
และใบสมัครตามเอกสารแนบ..
--THANK YOU--
FoSTAT STAFF