Central Processing Unit

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553


สถาปัตยกรรม Core i3, Core i5, Core i7
Intelได้ทำการเปิดตัวCPU Core i5 และCPU Core i7 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยCPUทั้งหมดนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาจากสถาปัตยกรรมหลักของCPUที่ชื่อว่า Nehalem เป็นสถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์ระดับไมโครอาร์คิเทคเจอร์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยขยายขอบเขตการทำงานได้อย่างเต็มที่ ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระ เพื่อนำไปพัฒนาเป็น CPU ในลักษณะต่างๆ มีความได้เปรียบเสมือนกับมีบล็อกสำหรับทำหน้าที่ต่างๆ และถ้าต้องการใช้งานแบบไหนก็นำบล็อกที่ต้องการไปประกอบกัน โครงสร้างสามารถรองรับได้ตั้งแต่ 2 ถึง 8 คอร์ พร้อมด้วยคุณสมบัติ Simultaneous Multi-threading ที่ทำให้สามารถประมวลผลชิ้นงานตั้งแต่ 4 จนถึง 16 เธรดไปพร้อมๆ กันได้

รูปนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมของ Nehalem
สาเหตุที่ Intel ต้องออกแบบสถาปัตยกรรม Nehalem ให้มีความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษก็เพราะว่า ในช่วงของการพัฒนา Core 2 นั้น Intel พบว่าจำเป็นต้องพัฒนา CPU ที่ค่อนข้างจะหลากหลายอย่างมากเพื่อที่จะรองรับความต้องการของตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาดเดสก์ท็อป (Conroe) ตลาดโน้ตบุ๊ก (Merom) ตลาดเซิร์ฟเวอร์ (Woodcrest) และตลาดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้หลายโปรเซสเซอร์ก็ยังต้องมี CPU แยกออกมาอีก (Tigerton) ทั้งๆ ที่โดยพื้นฐานแล้วความแตกต่างของ CPU ในระดับเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่ควรจะต่างกันมากนัก สิ่งที่ Intel ได้ออกแบบไว้กับ Nehalem



socket คือ ช่องที่ใช้สำหรับใส่ CPU เข้ากับ Mainboard โดยผู้ผลิต CPU จะกำหนดรูปแบบ socket เองโดยตรง และจะส่งต้นแบบไปยังผู้ผลิต Mainboard เพื่อนำไปผลิต Mainboard ของตนออกมาขาย โดย CPU แต่ละรุ่นจะต้องใช้กับ socket ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานด้วยกันเท่านั้นหรืออาจจะมีบางรุ่นที่ใช้แทนกันได้เช่น Socket 1156 รองรับ CPU i3 , i5 , i7-8xx Series , Socket 1366 รองรับ CPU i7-9xx Series จำนวนขาจะเท่ากับหมายเลขรุ่นซอกเก็ต
ข้อแตกต่าง Socket LGA 1366 กับ Socket LGA 1156 นอกจากจำนวนขาไม่เท่ากันแล้วยังมี
1. LGA 1156 กินไฟน้อยกว่า กินไฟระดับเต็มที่ อยู่ที่ 95 วัตต์ ส่วน LGA 1366 จะกินไฟในระดับ เต็มที่ 130 วัตต์
2. LGA 1156 แรม DDR3 แบบ Dual-Channel ส่วน LGA 1366 แรม DDR3 แบบ Triple-Channel เมนบอร์ด LGA 1366 เลยมีช่องใส่แรมเยอะกว่าโดยใส่ได้ 3 คู่ ( 6 แถว )
Shader Processor หรือ Stream Processor ซึ่ง Directx 10 นั้นก็ได้มาพร้อมกับแนวคิดที่เรียกว่า Unified Shader Architecture เป็นการนำหน่วยประมวลผล shader หลายๆตัวมารวมเป็นตัวหลักๆ เพียงตัวเดียว เพื่อเป็นการลดปัญหาคอขวด
GPU คือกราฟิกการ์ดที่นำมารวมอยู่ใน CPU จุดประสงค์ของการเอา GPU มารวมอยู่ใน CPU ก็เพื่อ ไว้ทำเป็นเครื่อง Milti Media คือเอาไว้ ดูหนัง เล่นเกมส์ ( เกมส์ Online หรือเกมส์ทั่วๆไปที่ไม่ต้องใช้ กราฟิกส์ สูงๆ ) โดยที่เราไม่ต้องซื้อการ์ดจอมาใช้เลย

หลักการทำงาน Intel Core i7
โปรเซสเซอร์แบบ Desktop
Core i7 ใช้ซอกเก็ต LGA1366 มีขาสำหรับจ่ายไฟ 250 ขา(โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 9) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Tripple Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1066MHz ในขณะที่ตัวที่เป็น LGA1156 มีขาสำหรับจ่ายไฟ 175 ขา(โมเดลที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) จะรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel ที่ความเร็วสูงสุด 1333MHz นอกจากนั้นยังมีตัวควบคุม PCI Express 2.0 รวมมาไว้ให้ภายในตัวCPU จึงส่งผลให้เมื่อทำการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ด 1 ใบจะได้ความเร็ว x16 และ x8/x8 ที่กราฟฟิกการ์ด 2 ใบ สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบในส่วนอื่นๆ นั้นCPUที่เป็นซอกเก็ต LGA1366 นั้นจะใช้บัส QPI ทำงานที่ความเร็ว 2.4 GHz (4.8 GB/s) และสำหรับตัวโมเดลที่ใช้ซอกเก็ต LGA1156 นั้นจะใช้บัส DMI (2GB/s)
โปรเซสเซอร์แบบ Notebook
Core i7 ที่ใช้บนโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้บนซอกเก็ต PGA988 ซึ่งมีคุณสมบัติหลักๆ เหมือนกับ Core i7 ที่ใช้ซอกเก็ต LGA1156 (Core i7-8xx) แทบจะทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการรองรับแรม DDR3 แบบ Dual Channel (สัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่สามารถรองรับได้จะชึ้นอยู่กับตัวCPUเป็นสำคัญ ) แต่โดยหลักๆ แล้วCPUโมเดลใดๆ ที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1333 MHz นั้นจะรองรับแรมที่มี่ความเร็ว 1066MHz ด้วย แต่จะไม่รองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz แต่ CPUโมเดลที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุด 1066MHz นั้นจะรองรับแรมที่ความเร็ว 800MHz ด้วย) มีตัวควบคุม PCI Express 2.0 มาให้แล้วในตัวCPU และใช้บัส DMI โมเดลCPUที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 6 นำหน้านั้นจะมีกราฟฟิกการ์ดที่รองรับ DirectX 10 มาให้ด้วยโดยจะมีความเร็วที่ 733MHz และมี Shader Processor มาให้ 12 ตัว
ประสิทธิภาพ Intel Core i7

Integrated graphics
32nm technology (เฉพาะรุ่น 980XE)
Intel smart cache
Intel Hyper-Threading
Intel Turbo boost Technology
greater cache
Higner clockspeed
Overclockkable (เฉพาะรุ่น Extreme Edition)

หลักการทำงาน Intel Core i5
โปรเซสเซอร์แบบ Desktop
Core i5 มีแกนCPUจริงเพียง 2 แกน แต่ระบบจะเห็นเป็น 4 เนื่องจากเทคโนโลยี Hyper Threading ส่วนตัวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 7 นั้นจะมีแกนCPUจริง 4 แกน แต่ไม่มีเทคโนโลยี Hyper Threading มาให้ด้วย นอกจากนั้น Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 1 นั้นจะมีกราฟิกชิพมาให้ด้วยซึ่งทำงานที่ความเร็ว 900MHz ในขณะที่ Core i5-6xx ที่ลงท้ายด้วยเลข 0 นั้นกราฟิกชิพจะทำงานที่ความเร็ว 733MHz
โปรเซสเซอร์แบบ Notebook
เช่นเดียวกับCPU Core i7 บนโน้ตบุ๊ก Core i5 บนโน้ตบุ๊กนั้นยังใช้บนซอกเก็ต PGA988 และมีส่วนควบคุมหน่วยความจำ DDR3 แบบ Dual Channel มาให้เหมือนเดิม โมเดลCPUที่ออกมาในขณะนี้นั้นยังสนับสนุน
ประสิทธิภาพ Intel Core i5
integrated graphics
32nm technology (เฉพาะรุ่น Core i5-6xx)
Intel smart cache
Intel Hyper-Threading
Intel Turbo boost Technology
หลักการทำงาน Intel Core i3
โปรเซสเซอร์แบบ Desktop
ตารางด้านล่างเป็นรายชื่อCPU Core i3 สำหรับเดสก์ท็อปเท่าที่ออกมาล่าสุด โดยส่วนควบคุมหน่วยความจำที่ได้รับการรวมเข้ามาไว้ในตัวCPUนั้นจะรองรับ ความเร็วสูงสุดที่ 1333MHz บนแรมแบบ DDR3 สำหรับส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการเชื่อมต่อกราฟฟิกการ์ดที่ความเร็ว 16x สำหรับการติดต่อสื่อสารกับชิพเซ็ตบนเมนบอร์ดนั้นจะผ่านทางบัส DMI ที่ความเร็ว 2GB/s และCPUทั้งหมดนั้นจะมีชิพกราฟฟิกซึ่งทำงานที่ความเร็ว 733MHz รวมมาให้ด้วย นอกจากนั้นก็ยังรองรับเทคโนโลยี Hyper Threading เช่นเคย จึงทำให้ระบบมองเห็นแกนCPUเป็นทั้งหมด 4 แกนจำลอง
โปรเซสเซอร์แบบ Notebook
Core i3 สำหรับโน้ตบุ๊กนั้นจะใช้ซอกเก็ต PGA988 สำหรับส่วนควบคุมหน่วยความจำนั้นจะรองรับแรม DDR3 ที่ความเร็ว 800 และ 1066MHz และก็เช่นเดียวกับโมเดลบนเดสก์ท็อปที่ส่วนควบคุม PCIe 2.0 นั้นจะรองรับการรับส่งข้อมูลที่ 16x และชิพกราฟฟิกที่รวมมาให้ด้วยนั้นจะทำงานที่ความเร็ว 500MHz ความเร็วของหน่วยความจำที่ 800 และ 1066MHz และก็มีส่วนควบคุม PCIe 2.0 ซึ่งรองรับอุปกรณ์ที่ความเร็วบัส 16x และมีกราฟฟิกการ์ดมาให้ซึ่งวิ่งที่ความเร็ว 500MHz
ประสิทธิภาพ Intel Core i3
integrated graphics
32nm technology
Intel smart cache
Intel Hyper-Threading

อธิบายศัพท์ Technology Core i3 i5 i7
integrated graphics คือเทคโนโลยีที่มาใหม่มันคือการ์ดจอออนบอร์ดแต่อยู่ในตัว cpu แล้วแน่นอนว่า คุณภาพนั้นสูงมาก จากที่ review viao z คะแนน 3Dmark06สูงถึง 1800 โดยทั้วไปแล้วแทบจะหาไม่มีการ์ดจอออนบอร์ดที่มี คะแนนเกิน 1000 แต่ก็แล้วแต่ผู้ผลิตและประกอบ notebook ว่าจะสนับสนุน ฟังชั่น นี้ไหม
32nm technology คือกระบวนการผลิต cpu ที่มีทรานซิสเตอร์ ขนาดเล็ก กว่ารุ่นก่อน (45nm) ซึ่งจะประหยัดไฟกว่าและเย็นกว่า และมีขนาด cpu ที่เล็ก ทำให้ผู้ผลิตnotebook สามารถผลิตnotebook ที่มีขนาดเล็ก บาง แต่มีคุณภาพสูงได้
intel smart cache คือ เป็นแคชภายใน cpu ช่วยเก็บชุดคำสั่งต่างๆได้มากขึ้น เข้าถึงชุดคำสั่งได้เร็วขึ่น โดยเป็นการใช้พื้นที่ร่วมกัน ในระบบ L3 cache ทำให้ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลไปกลับระกว่า ramกับ core 1 core 2 แต่จะ ทำงานร่วมกัน ได้ส่งข้อมูลร่วมกันได้ ภายใน cpu เอง
intel Hyper-Threading เปรียบเสมือนคอร์จริง โดยจะเป็นการประมวลผลชุดคำสั่งแบบคู่ขนาน สำหรับโปรแกรมที่ต้องการ เธรดการทำงาน จำนวนมาก สามารถทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง โดย 1 core จะทำงานได้ 2thr เฉพาะฉะนั้น 2 core ก็ 4thr เป็นเหมือน 4core จำลองดีดีนี้เอง
intel Turbo boost Technology เป็นการเพิ่มสัญาณนาฬิกา ของ cpu ให้สูงกว่าที่ กำหนดไว้ โดย จะพิจารณา จากโปรแกรมที่ใช้และคำจำเป็นในการบริโภคทรัพยากรของ cpu แล้วแต่โปรแกรมว่า สนับสนุนแบบไหนมากกว่ากันบางโปรแกรมทำงานได้ดีแบบ ซิงเกิลคอร์ บางโปรแกรมก็ทำงานได้ดีแบบ มัติคอร์ ก็ถ้าสนับสนุนแบบ ซิงเกิลคอร์ ก็จะปิดอีกคอร์ เพื่อเพิ่มสัญญาณ นาฬิกา สูงสุดถึง 2.93 จาก 2.4 ในรุ่นของ 520M i5 แต่ถ้าโปรแกรม ที่ทำงานได้ดีในแบบ มัติคอร์ก็จะไม่ปิดคอร์อื่นๆ แต่ก็สามารถเพิ่มสัญาณ นาฬิกาได้แต่ไม่สูงถึง 2.93 น่าจะประมาณ 2.5-2.6 ถ้าทำงานแบบมัติคอร์แต่ต้องการพลังในการประมวลผล มากๆ แน่นอนว่า โหมดนี้ สงผลต่อ อุณภูมิ อย่างมาก จะเห็นว่า ขนาด ผลิตด้วยกระบวนการ 32nm ยังสูง ถึง80"c แบบ Full load สรุปว่าสามารถเปิด turbo boot ได้ ทั้งแบบ ซิงเกิล (สูงถึง2.93ในรุ่น 520M) และแบบ มัลติ (ประมาณ 2.5-2.6)

รูปครับ ทางด้าน ซ้าย เป็นการเปิด turbo แบบ มัลติคอร์ ทางขวา เป็นการเปิด turbo แบบซิงเกิล
greater cache คือการจดจำโปรแกรมที่เราใช้งานบ่อยๆเป็นประจำ โดยระบบนี้จะทำให้โปรแกรมนั้นมาสามารถเข้าถึงได้เร็วขึ้น ทำงานได้ดีขึ้น
Higner clockspeed เป็นการบูธสัญญาณนาฬิกาให้สูงมากๆ จากที่กำหนด โดยจะต้องพึ่ง turbo boost
Overclockkable เป็นฟังชันที่สามารถ ปรับแต่สัญาณ นาฬกาได้ด้วยตนเองโดยอยู่ในอานัตของ intel โดยจะมีโปรแกรมของ intel เองเลย ตัวนี้จะมีเฉพาะ intel i7 Extreme เท่านั้น

หลักการทำงาน Intel Atom

โปรเซสเซอร์ Intel Atom ใช้สถาปัตยกรรม microarchitecture สามารถใช้งานกับฟอร์มแฟคเตอร์ต่างๆ ของอุปกรณ์ได้หลายรูปแบบ ได้แก่ สมาร์ทโฟน มือถือ แท็บเล็ต เน็ตบุ๊ค เดสก์ท็อปพีซีระดับเริ่มต้น และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เป็นอุปกรณ์เสริมที่สมบูรณ์แบบสำหรับพีซี ช่วยให้เข้าถึงอีเมล ข้อความโต้ตอบแบบทันที (IM) และอินเทอร์เน็ต โปรเซสเซอร์ Intel Atom ยังมอบอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น จึงสามารถทำการเชื่อมต่อในขณะเดินทางได้นานยิ่งกว่าเดิม นอกจากนี้ โปรเซสเซอร์ยังออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานด้วยการใช้ Intel Core microarchitecture Hi-k 45nm ที่เป็นเทคโนโลยีสำหรับอนาคต นอกจากนั้น โปรเซสเซอร์ Intel Atom ยังรวมการทำงานกราฟิก, วิดีโอ และชุดควบคุมหน่วยความจำไว้บนไดย์
Intel Atom ทั้งหมดมีคุณลักษณะ
1. แพกเกจซีพียู Form Factor ขนาดเล็ก ปราศจากการใช้ ตะกั่ว ปราศจากฮาโลเจน ในรูปแบบ Micro-Flip Chip ในเน็ตบุ๊ค (22x22 มม.) มีขนาดเล็กกว่าซีพียูโน้ตบุ๊ค (35x35 มม.) ถึง 60% ประหยัดพื้นที่ใช้งานบอร์ดระบบในดีไซน์ที่เล็กกว่าและบางกว่า ทำให้ได้ form factor เน็ตบุ๊คที่มีขนาดเล็ก
2. Intel Enhanced Deeper Sleep (C4/C4E) ประหยัด พลังงานโดยการฟลัชข้อมูลใน Cache ไปยังหน่วยความจำระบบหากไม่มีการทำงานใดๆ เพื่อลดพลังงานโดยรวมลงและให้การทำงานของแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น
3. Enhanced Intel SpeedStep Technology ระบบ Multiple voltage และ frequency operating points มอบประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด ช่วยให้สามารถปรับประสิทธิภาพการทำงานได้ตรงกับความต้องการของแอพพลิเคชั่น
4. TDP ต่ำ Thermal Design Power ที่ต่ำทำให้ได้อุปกรณ์เน็ตบุ๊คแบบพกพาที่เบาและบางขึ้น เนื่องจากลดความจำเป็นในการระบายความร้อนลง
5. front side bus ที่ได้รับการปรับปรุงสำหรับการใช้พลังงาน ลดพลังงานที่ ต้องใช้ในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ซึ่งช่วยในการประหยัดพลังงานและให้การทำงานของแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้นโดยไม่ ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
6. Enhanced data prefetcher และ enhanced register access manager แยกข้อมูลที่ โปรเซสเซอร์ต้องการใช้งานมาเก็บไว้ภายใน L2 Cache ก่อน ทำให้ได้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากโปรเซสเซอร์ไม่ต้องใช้เวลาในการรอ ข้อมูล
7. Intel® Advanced Smart Cache Cache และบัสที่ออกแบบสำหรับการแบ่งปันข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มอบประสิทธิภาพ, การตอบสนองและการประหยัดพลังงานที่เพิ่มขึ้น

ประสิทธิภาพ โปรเซสเซอร์ Intel Atom
Intel Atom Processor ได้รับการออกแบบมาให้มีขนาดกะทัดรัดและราคาประหยัด กินกำลังไฟน้อย ทำให้อุปกรณ์เชื่อมอินเทอร์เน็ตที่ใช้ Intel Atom Processor สามารถรองรับการทำงานขณะเดินทางได้อย่างเต็มที่ Intel Atom Processor ถูกผลิตขึ้นมาโดยเน้นสมรรถนะเพื่อการท่องอินเทอร์เน็ต เล่นเว็บบล็อก ฟังเพลง ดูวีดีโอ หรือติดต่อกับผู้คนทั่วโลกขณะเดินทาง นอกจากนี้คุณสมบัติประหยัดพลังงานของ Intel Atom Processor ทำให้คุณสามารถใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น จึงสามารถออนไลน์ได้นานยิ่งกว่าเดิม
สถาปัตยกรรม Phenom II X2 ,X3,X4,X6
สถาปัตยกรรม Phenom II จะเป็นสถาปัตยกรรม K10 ได้มีการพัฒนาดังนี้
1. พัฒนา Prediction algorithm เพื่อข้อมูลประเภท Indirect โดยสร้างตารางขนาด 512 elements
2. เพิ่มขนาด Global history register ที่ใช้เก็บชุดคำสั่งก่อนหน้าจากเดิม 8 เพิ่มขึ้นเป็น 12
3. เพิ่มขนาดของ Return-Address Stack จากเดิม 12 เป็น 24 ตำแหน่ง
4. Branch Prediction คือ ความสามารถในการ คาดเดา ของโพรเซสเซอร์ที่จะทำนายล่วงหน้าว่า
การทำงานในคำสั่งถัดไปจะเป็นอย่างไร และ จะดึงข้อมูลหรือชุดคำสั่งถัดไปมาเตรียมไว้ล่วงหน้า
เพื่อป้องกันการเกิด Decoding Interruption ( เสียจังหวะการต่อเนื่องในการประมวลผล)
( ซึ่งใน K- 8 จะใช้ Two-Level adaptive algorithm ที่จะทำนายข้อมูล โดยการย้อนกลับไปพิจารณาจากชุดคำสั่ง 8 ชุดก่อนหน้า และใช้การคำนวณ เพื่อหาผลลัพธ์ถัดไป )
5. Integer Execution Unit
คือ IEU ของ K-8 และ K-10 นั้นประกอบไปด้วยท่อในการประมวลผลเลขจำนวนเต็ม 3 ท่อด้วยกัน ซึ่งแต่ละท่อก็จะมี Scheduler ที่ไว้จัดสรรลำดับข้อมูลแยกออกจากกัน ในส่วนของ K-10 นั้นได้แก้ไขปัญหาการเกิด out-of-order reads ซึ่งคือ การประมวลผลชุดคำสั่งที่ไม่เป็นลำดับ อย่างเช่นการประมวลผลให้เขียนชุดคำสั่ง ก่อนที่จะอ่านชุดคำสั่ง ก็จะไม่เกิดปัญหา Conflict กับ Memory Address แต่อย่างใด
6. Floating Point Unit
ใน K10 นั้น ความกว้างของขนาด FPU ได้เพิ่มขึ้นเป็น 128 บิต ทำให้ K-10 สามารถประมวลผล Vector 128-bit ได้ใน สัญญาณนาฬิกาเดียว ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นสองเท่าในทางทฤษฏี เมื่อทำงานเกี่ยวกับ Vector SSE-instructions ( ถ้าเทียบกับ K-8 )
7. Memory Controller
ใน K-10 ได้เพิ่มช่องสัญญาณของ Data Cache จากเดิม 64-bit ต่อสัญญาณนาฬิกา ( ใน K-8 เป็น 128-bit ต่อสัญญาณนาฬิกา ) และ เพิ่มช่องสัญญาณของ Memory Controller เป็น 128-bit ในส่วนของ Cache ใน K-10 ก็มีเพิ่ม Cache ระดับ 3 (L3 Cache) ขึ้นมา เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อของแต่ละคอร์ เพื่อจะสามารถ ส่ง-แลกเปลี่ยน ข้อมูลกันได้
8. Virtualization
มีการพัฒนาชุดคำสั่งที่ AMD-V ที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหลาย OS บนเครื่องเดียวกัน โดย K-10 นั้น จะอนุญาตให้แต่ละ OS บน Virtualization สามารถมี Memory Management เป็นของตัวเองได้ ซึ่ง AMD เรียกว่า Nested Paging ซึ่งเทคโนโลยีนี้ ช่วยลดระยะเวลาที่ VM จะใช้ในการจัดการพวก Shadow Page และทาง AMD ได้อ้างว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ถึง 79%

9. New Instructions (SSE4a)
เพิ่มชุดคำสั่งจากเดิมใน K8 เข้าไป ทำให้ช่วยประมวลผลชุดคำสั่งเฉพาะทางได้รวดเร็วขึ้น อย่าง LZCNT ที่นับจำนวนเลข 0 ในชุดคำสั่ง และ POPCNT ที่นับจำนวนเลข 1 ในชุดคำสั่ง ซึ่งชุดคำสั่งพวกนี้ จะใช้งานกับโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ จะสามารถทำงานได้เร็วกว่าปกติ เปรียบเสมือนการลดจำนวนสัญญาณนาฬิกาที่จะต้องทำงานในแต่ละชุดคำสั่งนั้นๆ เช่น จากปกติต้องทำงาน 8 ถึง 32 สัญญาณนาฬิกาเพื่อนับจำนวนบิต แต่พอใช้คำสั่งพิเศษนี้ ก็เหลือเพียงสัญญาณนาฬิกาเดียว เป็นต้น
10. Power Management
ใน K-10 ก็ได้มีการพัฒนาส่วนของการประหยัดพลังงาน ที่แต่ละคอร์ จะมีการทำงานอิสระจากกันซึ่ง สัญญาณนาฬิกาของแต่ละคอร์ จะมีความเร็วที่แตกต่างขึ้น ขึ้นอยู่กับ Work Load ที่เข้ามาในโพรเซสเซอร์ โดยเทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า AMD CoolCore รวมทั้งเทคโนโลยีที่อาจจะเคยผ่านตากันแล้วอย่าง Split Power Planes ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพลังงาน ทาง AMD ก็นำมาจับเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น AMD Dual Dynamic Power Management ซึ่งเทคโนโลยีนี้จำเป็นที่จะต้องใช้ร่วมกันเมนบอร์ด Socket 1207+ ที่เป็นบอร์ดรุ่นใหม่ ซึ่งจะมาพร้อมเทคโนโลยีตัวนี้โดยเมนบอร์ด Socket 1207 ธรรมดาที่ออกมาก่อนหน้านี้ จะไม่รองรับ

Socket ของ AMD
ความแตกต่างของซีพียู และซ็อกเก็ต AM2/AM2+ นั้น จะมี 940 รู ส่วนซ็อกเก็ต AM3 มี 941 รู แต่ cpu AM3 จะมีเพียง 938 ขา นั่นคือเราสามารถนำเอา cpu phenom II x6 ไปใส่ใน ซ็อกเก็ต AM2+ ได้

ชื่อเรียกของ CPU AMD Phenom II
Phenom II x6 คือ ดาวทูบาน ( Thuban ) ในกลุ่มดาวมังกร (Draco) >>ทูบัน
Phenom II x4 ดาวหางหงส์ ( Deneb ) อยู่ในกลุ่มดาวหงส์ >>เดนีบ
Phenom II x4 ดาว ( Zosma )คือ ดาวในนักษัตรฤกษ์ที่ 11 ที่มีชื่อว่า ปุรพผลคุนี >>ซอสม่า
Phenom II X3 ( Heka ) แปลว่า การปลดปล่อยพลังชีวิต >>เฮก้า
Phenom II x2 ( callisto ) ดวงจันทร์ Callisto ของดาวพฤหัส >>คัลลิสโต
AMD Phenom II X6







CPU Phenom II X6 ที่เรียกว่า Thuban เป็นการใช้โครงสร้างของ K10 AMD ก็ได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติในการทำงานของ K10 สำหรับ K10 Micro-Architecture นั้น ได้มีการพัฒนาให้สามารถดึง (Fetch) ชุดคำสั่งจาก L1I Cache ได้มากกว่าเดิมเท่าตัว จาก 16-byte blocks ใน K8 เป็น 32-byte blocks ใน K10 เนื่องจากขนาดชุดคำสั่งในทุกวันนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ทำให้การขยายขนาดการดึงชุดคำสั่งช่วยลดปัญหาคอขวดได้ ให้ความก้าวหน้าตามลำดับ โดยCPU Phenom II X6 ได้ยืดถือในเรื่องของประสิทธิภาพต่อการใช้พลังงานเป็นหลัก แต่ยังคงสร้างด้วยกระบวนการผลิตแบบ 45 นาโนเมตรเช่นเดิม ยังไม่ได้ใช้แบบ 32 นาโนเมตร เมื่อPhenom II X6 CPUแบบ 6 Coreลงสู่ตลาด โดยCPUรุ่นนี้จะทำงานร่วมกับชิปเซตในตระกูล 890 Series
จุดเด่นของ Phenom II X6 ทางAMD ยังคงเน้นไปในเรื่องของประสิทธิภาพต่อการใช้พลังงาน และจุดเด่นอีกประการก็คือ Phenom II X6 นั้นยังคงความเข้ากันได้กับเมนบอร์ดที่ใช้ซอกเก็ต AM3 และ ซอกเก็ต AM2+ อีกด้วย นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานเมนบอร์ดรุ่นเดิมอยู่สามารถเพิ่มเติมประสิทธิภาพ ให้กับพีซีของตนด้วยการอัปเกรดCPUเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ต้องซื้อเมนบอร์ดใหม่ แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่ผู้ใช้จะทำการอัปเกรดก็ควรจะทำการตรวจสอบกับผู้ผลิตเมนบอร์ดอีกครั้งว่าเมนบอร์ดรุ่นที่ท่านใช้งานอยู่นั้นสามารถรองรับCPU Phemom II X6 ได้หรือไม่
ส่วนการใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น ก็แนะนำว่าให้ใช้งานควบคู่กับเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซต 890 Series ซอกเก็ตแบบ AM3 โดยเมนบอร์ดรุ่นใหม่นี้จะรองรับการทำงานของ USB 3.0 อีกด้วย
คุณสมบัติทั่วไป ของ Phenom II X6 นี้ก็จะประกอบไปด้วยหน่วยความจำ L3 ที่มีขนาดตั้งแต่ 4MB – 8MB แล้วแต่รุ่น ซึ่งจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับการแชร์ข้อมูลระหว่างCoreแต่ละตัว ส่วน L2 ที่เป็นCACHEของแต่ละCoreนั้นจะมีขนาดอยู่ที่ 512KB นอกจากนี้ในส่วนของ FPU นั้นAMD ได้ปรับปรุงให้มีการทำงานแบบ 128 บิต เพื่อเพิ่มความเร็วในการประมวลผลคำสั่งทางด้านมัลติมีเดียให้ดียิ่งขึ้น การรองรับหน่วยความจำนั้นใช้งานได้ทั้ง DDR2 และ DDR3
สำหรับCPUชุดแรกที่จะนำเทคโนโลยี AMD Turbo CORE มาใช้งานนั้นจะเป็นCPUที่ใช้สถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า Thuban ซึ่งเป็นCPUแบบ 6 Core มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 4 รุ่น และมีCPUแบบ 4 Coreอีกหนึ่งรุ่นคือ Phenom II X4 ซึ่งจะใช้สถาปัตยกรรม Thuban เช่นกัน
AMD Phenom II X4

AMD Phenom II X4 หรือที่เรียกกันจนติดปากในเวลานี้ว่า Deneb สำหรับคำว่า Deneb ที่เราเรียกๆอยู่ตรงนี้แท้จริงแล้วนั้นมันจะเป็นชื่อ Code Name หรือรหัสการผลิตนั่นหละครับ ส่วนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการจริงๆของมันก็คือ AMD Phenom II X4
สำหรับ AMD Phenom II X4 นั้นหากดูจากชื่อเรียกแล้วมันก็ยังคงไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนักเพียงแค่มี II หรือเจเนเรชั่นที่สองเท่านั้น สำหรับ Phenom II นั้นภาพรวมของตัว CPU แล้วนั้นถ้าหากมองกันถึงโครงสร้างภายในแล้วหละก็ หลายๆอย่างก็ยังคงใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับ Phenom X4 แต่จุดที่มีความแตกต่างอย่างโดดเด่นที่สุดแล้วนั้นจะประกอบด้วย 3 จุดใหญ่ๆ
1. ขนาดกระบวนการผลิตซึ่งทาง AMD ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนาดกระบวนการผลิตให้มีขนาดเล็กลงจากเดิมที่จะใช้ขนาด 65nm บน Phenom X4 เดิมแต่สำหรับ Phenom II จะใช้ขนาดกระบวนการผลิตที่ 45nm
2. Memory Controller รองรับการทำงานร่วมกับ DDR3 แต่จะมีหมายเหตุระบุไว้เล็กน้อยว่า " ต้องการแพลทฟอร์มที่รองรับ " ในที่นี้ก็คงหมายถึงจะต้องมีเมนบอร์ดที่มีการออกแบบมาใหม่ที่พร้อมรองรับเมโมรีในแบบ DDR3 ด้วยนั่นเอง
3. ขนาดของ L3 Cache ที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่าด้วยกันคือมีขนาดเท่ากับ 6MB เนื่องจากการที่ทาง AMD ได้มีการลดขนาดกระบวนการผลิตที่เล็กลงเป็น 45nm เพราะเท่ากับว่าขนาดของ Die CPU ก็จะมีขนาดที่เล็กลงก็เลยทำให้สามารถเพิ่มจำนวนของ L3-Cache ให้เพิ่มมากขึ้นได้
AMD Phenom II X3

จากภาพโครงสร้างภายในของ CPU triple-core จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการเพิ่มจำนวนของแกนประมวลผลขึ้นมาอีกหนึ่งแกน และมีการเพิ่มหน่วยความจำCACHE L 3 ขึ้นมาอีก ซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 2MB โดยหน่วยความจำCACHE L 3 นี้ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของCPUได้อีกระดับ โดยเฉพาะเมื่อแกนประมวลผล แต่ละแกนต้องการแชร์ข้อมูลร่วมกันก็จะกระทำกันบนหน่วยความจำCACHEระดับ 3 ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบนหน่วยความจำหลักของเครื่อง ทำให้ลดระยะเวลาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้มาก เพราะตามปกติแล้วหน่วยความจำCACHEจะมีความเร็วในการทำงานที่สูงกว่าหน่วยความจำหลักที่อยู่บนเมนบอร์ด

สำหรับในเรื่องการใช้งานหน่วยความจำ นั้นCPU Triple-Core ก็ยังคงรองรับหน่วยความจำแบบ DDR3 รูปแบบของซอกเก็ต AM2 หรือ AM2+ เพราะในทางเทคนิคแล้วไม่มีอะไรใหม่เลยที่จะต้องปรับเปลี่ยนซอกเก็ตCPU เพราะในทางเทคนิค แล้วถึงแม้ว่าCPUจะมีจำนวนของแกนประมวลผลเพิ่มขึ้น มีหน่วยความจำCACHE L 3เพิ่มขึ้น แต่ส่วนที่ต้องเชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ บนเมนบอร์ดนั้นแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ส่วนที่ควบคุมหน่วยความจำก็อยู่ในCPUอยู่แล้ว จะมีก็แค่บัสข้อมูลเท่านั้นที่เชื่อมต่อออกมา และที่สำคัญก็คือการเชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ด้วยระบบ HyperTranspot นั้น มันก็ทำให้สามารถเข้ากับเมนบอร์ด AM2 และ AM2+ ได้โดยปรับปรุงแค่ไบออสเท่านั้น

AMD Phenom II X2



Phenom II X2 เป็นCPUในตระกูลใหม่ ยังเป็นมุขเก่าคือปิดแกนประมวลผลมา แล้วนำออกมาให้เป็น Phenom II X2 แต่ไม่เพียงในเรื่องของจำนวนแกนประมวลผลเท่านั้นที่สร้างความแตกต่างให้กับ Phenom II X4 และ Phenom II X3 และในอีกหนึ่งกรณีมันก็จะแตกต่างจากความเป็น X3 700Series กับ X4 900Series อีกเช่นกัน เพราะว่าเจ้า Phenom II X2 ที่เปิดตัวออกมานั้นจะมีขนาดของ L2-Cache ในขนาดเพียง 1MB (512KBx2) เท่านั้นเอง แต่สำหรับ X3 700Series กับ X4 800Series และ X4 900Series ต่างก็ยังคงจะมีขนาดของ L2-Cache ที่ขนาด 2MB ทั้งหมด และสำหรับ X2 500Series ตรงนี้กับขนาดของ L3-Cache จะยังมีขนาดเทียบเท่ากับรุ่นพี่ของมันอย่าง X3 700Series กับ X4 900Series คือ 6MB และจากทั้งหมดตรงนี้บทสรุปในแบบง่ายๆก็คงจะได้ว่า AMD Phenom II X2 500Series ในวันนี้มันก็คือ " Phenom II X4 900Series ที่ทำการปิดแกนประมวลผลและลดขนาดของ L2-Cache ลงแล้วก็นำมาใช้เป็น Phenom II X2 นั่นเอง " ส่วนทางด้านของโครงสร้าง ขนาดการผลิต และชุดคำสั่งต่างๆทั้งหมดก็คงเป็นเช่นเดียวกันทั้งหมดในความเป็น Phenom II
หลักการที่มาของ AMD Phenom II X2 555 Black Edition ยังเป็นการมาจาก Phenom II X4 Codename Deneb ที่ถูกปิดการทำงานของCoreที่มีความไม่สมบูรณ์ 100% จนทำให้เป็น Phenom II X2 Codename Callisto ข้อดีของ Phenom II X2 555 Black Edition ที่มันเป็น Rev.C3 ที่สามารถจัดการพลังงานรวมไปถึงความร้อนได้ดีกว่าตัว Rev.C2 ได้ดีขึ้น

CPU AMD Athlon Neo สำหรับ Ultrathin Notebooks

AMD Athlon Neo Processor เป็นCPUในตระกูล Athlon ที่ออกแบบสำหรับใช้กับ Ultrathin Notebooks โดยมีความเร็ว 1.6GHz มีCACHE L2 ขนาด 512 KB ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี 65 nm และใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 15 W เท่านั้น โพรเซสเซอร์ Athlon Neo Single Core จะมาพร้อมกับCACHE L2 512MB กราฟิก Direct X9 และสนับสนุนหน่วยความจำ DDR2 667MHz
Atlon Neo ออกมาเพื่อชนกับ Atom โพรเซสเซอร์ของIntelโดยตรง ส่วนความแตกต่างที่เห็นก็คือ มันมีขนาดใหญ่กว่า และการบริหารจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่า เปรียบเทียบขนาดของโพรเซสเซอร์ Neo จะอยู่ที่ 27 x 27 ม.ม. และมี thermal envelope อยู่ที่ 15 วัตต์ ในขณะที่ Atom ของIntelมีขนาดชิปอยู่ที่ 22 x 22 ม.ม. และมี thermal envelope แค่ 2.5 วัตต์เท่านั้น Athlon Neo โพรเซสเซอร์สำหรับโน้ตบุ๊กเจนเนอเรชั่น 2 ที่มีขนาดหน้าจอ 12-13 นิ้ว โดยทางบริษัทอ้างว่า มันเร็วกว่าโพรเซสเซอร์ Atom ของ Intel ถึง 2.5 เท่า
รายละเอียดทางเทคนิคของซีพียู AMD Athlon Neo
AMD Athlon Neo Processor เป็นซีพียูในตระกูล Athlon ที่ออกแบบสำหรับใช้กับ Ultrathin Notebooks โดยมีความเร็ว 1.6GHz มีแคช L2 ขนาด 512 KB ผลิตโดยใช้เทคโนโลยี 65 nm และใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 15 W เท่านั้น

Motherboard and Chipset:
สำหรับชิปเซ็ตที่รองรับ AMD Athlon™ Neo Processor นั้น จะมีอยู่ 3 รุ่นด้วยกันคือ AMD 770, AMD 690G และ AMD 690V โดยมีผู้ผลิตอย่าง MSI ที่วางจำหน่าย Motherboard สำหรับซีพียูรุ่นนี้แล้ว

คุณลักษณะของ Athlon Neo processor
1. แพคเกจวัด Processor 27 x 27 mm และโปรไฟล์ต่ำ 2.5 mm
2. AMD PowerNow! เทคโนโลยี -- แบบไดนามิกสวิทช์สภาวะประสิทธิภาพ (แรงดันไฟฟ้าและความถี่ core processor ปฏิบัติการ) ตามความต้องการประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์
3. AMD Digital Media Xpress ด้วยการสนับสนุน SSE, SSE2, SSE3 และ MMX คำแนะนำ MMX , SSE , SSE2 , SSE3 , x86-64 , 3DNow! MMX , SSE , SSE2 , SSE3 , x86 - 64 , 3DNow!
4. processor 64 bit
5. ใช้กับ Windows XP Professional x64 Edition, Windows XP Professional, Windows XP Home Edition, Windows 98, Windows ME, Windows NT, Windows 2000, Linux, และ Windows Vista


อ่านต่อดาวโหลด ไฟล์ Word ที่นี่(มีรูปบรรยาย)

Cpu_Intel_Core_i7_i3
อ่านต่อดาวโหลด ไฟล์ powerpoint ที่นี่

Phenom_II
อ่านต่อดาวโหลด ไฟล์ powerpoint ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น