FoSTAT Public Training "การสอบเทียบเครื่องชั่ง และเทอร์โมมิเตอร์ในอุตสาหกรรมอาหาร" "Calibration" วันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2555 เวลา 08.30-16.30 น.

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555
                            FoSTAT
Public Training
 "การสอบเทียบเครื่องชั่ง และเทอร์โมมิเตอร์ในอุตสาหกรรมอาหาร"
 “Calibration”
                             วันที่ 12-13 พฤศจิกายน 2555    เวลา 08.30-16.30 น.


หลักการขอบเขต

           ปัจจุบันระบบสายการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร ได้มีการพัฒนาในหลายๆ ด้าน ทั้งในด้านกระบวนการวิเคราะห์คุณสมบัติของอาหาร  กระบวนการผลิต ระบบรับรองคุณภาพขององค์กรและกระบวนการควบคุณภาพ ได้มีการยกระดับศักยภาพให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อมุ่งเน้นในด้านของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความน่าเชื่อถือขององค์กรต่อองค์กรภายนอก  โดยในด้านของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ มีปัจจัยหลายอย่างเป็นสิ่งชี้วัดถึงเกณฑ์การยอมรับถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อันได้แก่วัตถุดิบที่นำมาทำ ส่วนผสมที่คงที่ สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม และเครื่องมือวัดที่มีความถูกต้อง เป็นต้น ล้วนแล้วมีความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น
           จากเหตุผลกล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าทุกกระบวนการและปัจจัย จะต้องใช้เครื่องมือวัดเข้าไปทำการวัด ตรวจสอบ ถึงคุณสมบัติที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด ในการผลิตเพื่อนำมาสู่ผลผลิตที่มีคุณภาพ และความสำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องมือวัดคือ   หากเกิดความผิดพลาดขึ้นกับเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ ยิ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นในการผลิตในลักษณะของค่าที่ใช้ในการควบคุม (Specification) เนื่องจากไม่ทราบว่าค่าที่กำหนดขึ้นมานั้นมีความถูกต้องมากน้อยเพียงไร โดยเป็นผลมาจากการใช้เครื่องมือวัดที่มีความผิดพลาด (Error) และถ้านำเครื่องมือวัดที่มีความผิดพลาด (Error) มาใช้ในการตรจสอบชิ้นงานในงาน Q.C. จะส่งผลต่อการตัดสินความใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้
            ดังนั้นผู้จัดทำหลักสูตรจึงมองเห็นปัญหาที่มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดขึ้นกับเครื่องมือวัดจึงจัดทำหลักสูตรการสอบเทียบ เครื่องชั่ง และเทอร์โมมิเตอร์ ที่ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือวัดที่สำคัญและมีการใช้งานกันอย่างมากในองค์กรอุตสาหกรรม อาหาร และที่จะทำให้ผู้ใช้เครื่องมือวัดสามารถที่จะทราบสภาพเครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ นั้นคือค่าความผิดพลาด ของเครื่องมือวัดนั้นเอง

 วัตถุประสงค์

            1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสอบเครื่องชั่ง และเทอร์โมมิเตอร์

            2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทำการสอบเทียบ เครื่องชั่ง และเทอร์โมมิเตอร์ ได้อย่างถูกต้อง

            3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการประเมินค่าความไม่แน่นอนในการวัดของการสอบเทียบ

            เครื่องชั่ง และเทอร์โมมิเตอร์

            4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในใบรายงานผลการสอบเทียบ 

หัวข้อการบรรยาย + WORK SHOP

-ความสำคัญในการสอบเทียบ

- คุณลักษณะและการกำหนดเกณฑ์การใช้เครื่องมือวัด 

-ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถูกต้องของเครื่องมือวัด

    **การทำความเข้าใจในใบรายงานผลการสอบเทียบ

    **หลักการทำงานของ  เครื่องชั่ง


การสอบเทียบ เครื่องชั่ง

    **Repeatability , Effect off Loading Center , Indication  Error

  

การประเมินค่าความไม่แน่นอนในกาวัด (Uncertainty of Measurement) : Uncertainty in Weighing Machine Calibration

     **ชนิดของความไม่แน่นอนในการวัด

     **การประเมินค่าความไม่นอนในการวัด


การรายงานผลการสอบเทียบ เครื่องชั่ง

     **ความสำคัญในการสอบเทียบ

     **คุณลักษณะและการกำหนดเกณฑ์การใช้เครื่องมือวัด


 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถูกต้องของเครื่องมือวัด

      ** การทำความเข้าใจในใบรายงานผลการสอบเทียบ

      ** หลักการทำงานของ  Thermometer

การสอบเทียบ Thermometer    

      **Repeatability , Indication  Error

การประเมินค่าความไม่แน่นอนในกาวัด (Uncertainty of Measurement) : Uncertainty in Thermometer Calibration

      **ชนิดของความไม่แน่นอนในการวัด

      **การประเมินค่าความไม่นอนในการวัด

การรายงานผลการสอบเทียบ Thermometer
สนใจสมัครเข้าฝึกอบรม รายละเอียดติดต่อและใบสมัครตามเอกสารแนบ
 
Best Regards,
FoSTAT Staff
Food Science and Technology Association of Thailand (FoSTAT)
Room 722, Institute of Food Research and Product Development Bld.
Kasetsart, Chatuchak, Bangkok,10900  THAILAND
Tel. +662 9428528 
Fax +662 9428527

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น