FoSTAT-Public Training การพัฒนาระบบการเก็บตัวอย่างอาหารในระดับอุตสาหกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ "Sampling Plan รุ่นที่ 2"

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555


 


FoSTAT-Public Training

        การพัฒนาระบบการเก็บตัวอย่างอาหารในระดับอุตสาหกรรม

อย่างมีประสิทธิภาพ

"Sampling Plan รุ่นที่ 2"

วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2555


ในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจมีการแข่งขันในด้านการค้าสูง การดูแลเรื่องคุณภาพจึงเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์หรือบริการ แผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวแทนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด วิธีการสุ่มตัวอย่างจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากร ดังนั้นการเลือกวิธีการการสุ่มตัวอย่าง(Sampling) ที่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้ค่าที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ และใช้ผลวัดความน่าจะเป็นในการเกิดความผิดปกติและอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากในปัจจุบันพบว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยมักมีปัญหาเรื่องการสุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะการเลือกแผนการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคนิคการป้องกันการปนเปื้อนจากกระบวนการสุ่มตัวอย่าง


จากเหตุผลดังกล่าว สมาคมฯ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาระบบการเก็บตัวอย่างอาหารในระดับอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ" เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย และใช้เป็นแนวทางในการจัดการกับผลิตภัณฑ์และสินค้าของเราอย่างไร ซึ่งจะทำให้ประหยัด เวลา  ค่าใช้จ่าย และพนักงาน ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


        โดย ผศ.ดร.ชุติมา  ไวศรายุทธ์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์


หัวข้อบรรยาย

·        ความสำคัญในการสุ่มตัวอย่าง

 

·        แนวคิดพื้นฐานในการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ

 

·        ค่าสถิติที่เกี่ยวข้อง

 

·        ความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่าง

 

·        การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น

          -     การสุ่มอย่างง่าย  / การสุ่มอย่างเป็นระบบ

 

·        การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น (ต่อ)

-     การสุ่มแบบแบ่งชั้น

-     การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม

-     การสุ่มแบบหลายขั้นตอน

 

·        การสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น

-     การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย

-     การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง

-     การเลือกตัวอย่างแบบโควตา

-     การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่

 

·        การวางแผนในการสุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอาหาร

 

·        การวิเคราะห์ผลการสุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอาหาร

 

·        เครื่องมือที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง

 

·        ปัญหาที่พบในการสุ่มตัวอย่าง การแก้ไขและป้องกัน

 

·        กรณีศึกษา

 

·        การจัดตั้งวิธีตรวจสอบระบบภายใน (internal monitoring system)


"Workshop"

การสุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ


สนใจสมัครเข้าฝึกอบรม รายละเอียดติดต่อและใบ
สมัครตามเอกสารแนบ

Best Regards,
FoSTAT Staff
Food Science and Technology Association of Thailand (FoSTAT)
Room 722, Institute of Food Research and Product Development Bld.
Kasetsart, Chatuchak, Bangkok,10900  THAILAND
Tel. +662 9428528 
Fax +662 9428527

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น