FoSTAT-Public Training การพัฒนาระบบการเก็บตัวอย่างอาหารในระดับอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ Sampling Plan

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

FoSTAT-Public Training

        การพัฒนาระบบการเก็บตัวอย่างอาหารในระดับอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

Sampling Plan


ในปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจมีการแข่งขันในด้านการค้าสูง การดูแลเรื่องคุณภาพจึงเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการแข่งขัน  เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์หรือบริการ แผนการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวแทนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด วิธีการสุ่มตัวอย่างจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนประชากร ดังนั้น การเลือกวิธีการการสุ่มตัวอย่าง (Sampling) ที่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้ค่าที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ และใช้ผลวัดความน่าจะเป็นในการเกิดความผิดปกติและอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากในปัจจุบันพบว่าอุตสาหกรรมอาหารของไทยมักมีปัญหาเรื่องการสุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะการเลือกแผนการสุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคนิคการป้องกันการปนเปื้อนจากกระบวนการสุ่มตัวอย่าง

จากเหตุผลดังกล่าว สมาคมฯ จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาระบบการเก็บตัวอย่างอาหารในระดับอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ" เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย และใช้เป็นแนวทางในการจัดการกับผลิตภัณฑ์และสินค้าของเราอย่างไร ซึ่งจะทำให้ประหยัด เวลา  ค่าใช้จ่าย และพนักงาน ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับองค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด


       


 โดย ผศ.ดร.ชุติมา  ไวศรายุทธ์  

       มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์


หัวข้อบรรยาย


·        ความสำคัญในการสุ่มตัวอย่าง

·        แนวคิดพื้นฐานในการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ

·        ค่าสถิติที่เกี่ยวข้อง

·        ความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่าง

·        การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น

                 การสุ่มอย่างง่าย  / การสุ่มอย่างเป็นระบบ

·        การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น (ต่อ)

-                    การสุ่มแบบแบ่งชั้น

-                    การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม

-                    การสุ่มแบบหลายขั้นตอน

·        การสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น

-                    การเลือกตัวอย่างแบบสะดวกสบาย

-                    การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง

-                    การเลือกตัวอย่างแบบโควตา

-                    การเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่

·        การวางแผนในการสุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอาหาร

·        การวิเคราะห์ผลการสุ่มตัวอย่างในอุตสาหกรรมอาหาร

·        เครื่องมือที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง

·        ปัญหาที่พบในการสุ่มตัวอย่าง การแก้ไขและป้องกัน

·        กรณีศึกษา

·        การจัดตั้งวิธีตรวจสอบระบบภายใน (internal monitoring system)

Workshop

การสุ่มตัวอย่างในการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ


สนใจสมัครเข้าฝึกอบรม รายละเอียดติดต่อและใบ
สมัครตามเอกสารแนบ


--
Thank You.
FoSTAT Staff

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น